ความเป็นมา
เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ คณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคมและการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับการกีฬาแห่งประเทศไทยและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ ขึ้นในอาคารสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เพื่ออนุรักษ์มรดกทางการกีฬาของประเทศไว้ให้เยาวชนและประชาชนได้ศึกษาค้น คว้าเกี่ยวกับ ประวัติ ความเป็นมาของการกีฬาของชาติ รวมทั้งเพื่อจัดตั้งเป็นหอเกียรติยศของอดีตนักกีฬาทีมชาติไทย ในการนี้ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจดำเนินการโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ กีฬาแห่งชาติ (กกท.) ประกอบด้วย
1. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. ผู้แทนสำนักงบประมาณ
3. ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ
4. ผู้แทนกรมศิลปากร
5. ผู้แทนมหาวิทยาลัยศิลปากร
6. ผู้แทนการกีฬาแห่งประเทศไทย
และผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำนวนหนึ่ง ทำหน้าที่ร่วมกันพิจารณาจัดทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ โดยแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆดังนี้
1. คณะอนุกรรมการอำนวยการ
2. คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์
3. คณะอนุกรรมการจัดเตรียมสถานที่และครุภัณฑ์
4. คณะอนุกรรมการพิจารณาวัตถุพิพิธภัณฑ์กีฬา
คณะอนุกรรมการแต่ละฝ่ายได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยทันที โดยได้มีการสำรวจออกแบบอาคารสถานที่และบริเวณการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การ ขอรับบริจาควัตถุสิ่งของทางการกีฬาเพื่อนำไปจัดแสดง ในการนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเรือใบ ๓ ลำ ให้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์กีฬา ส่วนของบริจาคจากนักกีฬาและบุคคลในในวงการกีฬา กกท. ได้รับการทยอยบริจาคมาที่จัดว่าโดดเด่นอย่างหนึ่ง คือ เหรียญเงินในการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ ๒๓ ที่นครลอสแองเจอลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ จากนายทวี อัมพรมหา
โดยที่คณะอนุกรรมการอำนวยการได้พิจารณาเห็นว่าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬา แห่งชาต
เป็นโครงการเร่งด่วนที่ต้องเตรียมการเพื่อให้แล้วเสร็จในช่วงเวลาเดียวกัน กับการก่อสร้างสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติเสร็จเรียบร้อย จึงได้เสนอให้การกีฬาแห่งประเทศไทยพิจารณาผนวกค่าใช้จ่ายของโครงการไว้ในคำ ขอตั้งงบประมาณประจำปีงบประมาณ ๒๕๓๔ ซึ่งเมื่อเริ่มต้นโครงการ ได้รับการอนุมัติวงเงินก่อหนี้ผูกพันโครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๘,๙๓๒,๐๐๐ บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๔ ต่อมา เมื่อคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ได้มีมติเห็นชอบให้โครงการพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี การกีฬาแห่งประเทศไทยจึงได้รับอนุมัติให้ขยายวงเงินก่อหนี้ผูกพันโครงการ เพิ่มเติมเป็นเงิน ๓๐ ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ และต่อมาการกีฬาแห่งประเทศไทยได้รับอนุมัติให้เพิ่มเติมวงเงินก่อหนี้ผูกพัน โครงการอีกครั้งเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๔๗,๙๐๑,๕๐๐ บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๑ จึงทำให้การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติสำเร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะเปิดให้ บริการแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปตามวัตถุประสงค์ทุกประการ